คำถามที่พบบ่อย

Home / FAQs

การมาพบทนายความที่สำนักงานกฎหมายวินเซอร์เพื่อปรึกษาคดีนั้น ท่านไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย     ทางสำนักงานฯมีทนายความคอยให้คำปรึกษาฟรี การมาพบทนายความนั้น ควรจะจัดเตรียมเอกสารหรือพยานหลักฐาน รวมทั้งนำพยานบุคคลที่คิดว่าเกี่ยวข้องกับคดีมาในวันที่นัดหมายกับทนายด้วย เพื่อให้ทนายได้ตรวจสอบเบื้องต้นและสอบถามข้อมูลเบื้องต้น เพื่อแนะนำแนวทางการดำเนินคดีตามกฎหมายตรงประเด็นที่สุด

ทางทนายแนะนำว่าท่านควรเข้ามาพบและปรึกษาทนายที่สำนักงาน เนื่องจากหากท่านมาพบทนายที่สำนักงาน ทนายความจะตรวจสอบเอกสารหรือพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่ท่านได้เตรียมในทันที และท่านจะได้รับคำปรึกษาได้ตรงประเด็นและครบถ้วนมากกว่าการพูดคุยหรือปรึกษาทางโทรศัพท์

การคิดค่าจ้างของทนายนั้น แต่ละคดีจะมีการคิดค่าว่าจ้างไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับประเภทและความซับซ้อนของเนื้อหาในคดี ซึ่งทางสำนักงานกฎหมายวินเซอร์ ยึดหลักว่าการคิดค่าว่าจ้างนั้น ต้องมีราคาที่ไม่สูงมากลูกความทุกคนต้องสามารถเข้าถึงได้

การดำเนินคดีในศาลนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีการดำเนินคดีอยู่ 2 ประเภท คือ คดีแพ่งและคดีอาญา โดยทั้ง 2 คดีนั้น จะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการที่แตกต่างกัน

คดีแพ่ง หากเป็นกรณีที่เป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ฟ้องผิดสัญญากู้ยืม ฟ้องผิดสัญญาซื้อขายนั้น โดยปกติทางทนายความจะใช้ระยะเวลาดำเนินการอยู่ระหว่างประมาณ 40 ถึง 60 แล้วแต่กรณี แต่หากคู่ความสามารถไกล่เกลี่ยกันได้ก็อาจจะใช้เวลาที่เร็วกว่าที่ได้แจ้งข้างต้น แต่ในกรณีที่เป็นคดีมีข้อยุ่งยาก เช่นคดีผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง อาจจะใช้เวลาประมาณ 45 ถึง 90 วัน ขึ้นอยู่กับรายละเอียดคดีว่ามีความซับซ้อนมากเพียงใด 

คดีอาญา ในส่วนของคดีอาญานั้น จะใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 45 ถึง 60 วัน ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของคดี และการรวบรวมพยานหลักฐานในคดี

ทางทนายแนะนำว่า ท่านควรจะว่าจ้างทนายตั้งแต่ก่อนที่ท่านจะเริ่มทำนิติกรรมต่าง ๆ เนื่องจากว่า หากก่อนที่ท่านจะทำนิติกรรมต่าง ๆ นั้น ท่านมีทนายความคอยให้คำแนะนำ ในการตรวจสอบนิติกรรมต่าง ๆ      มีเนื้อหาอย่างไร ท่านจะไม่ถูกเอาเปรียบและลดการเกิดความเสียหายในอนาคต แต่หากเป็นกรณีที่ท่านได้รับหมายเรียกไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา ท่านควรจะว่าจ้างทนายให้เข้าต่อสู้คดีในทันที เนื่องจากท่านอาจเสียสิทธิในการต่อสู้คดีได้ หรืออาจเสียสิทธิตามที่กฎหมายกำหนดได้

การดําเนินคดีในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกานั้น คู่ความไม่ต้องไปศาลเหมือนกับการพิจารณาในศาลชั้นต้น เนื่องจาก การดําเนินคดีในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกานั้น ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาจะพิจารณาคดีจากพยานหลักฐานที่ปรากฏอยู่ ในสํานวนของศาลชั้นต้นที่คู่ความได้นําสืบไว้แล้วตามประเด็นที่คู่ความแต่ละฝ่ายโต้แย้งคําพิพากษาของศาลชั้นต้น แล้วแต่กรณี